สำหรับหนังสือเดินทางหรือ passport เป็นเอกสารสำคัญสำหรับบุคคลที่จะเดินทางไปต่างประเทศโดยในหนังสือเดินทางจะมีการระบุข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกและใช้เป็นหลักฐานในการเดินทางข้ามประเทศ หรือ ขอ VISA
หนังสือเดินทางนั้นมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
หนังสือเดินทางฑูต (Diplomatic) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับนักการทูต และข้าราชการการเมือง เพื่อใช้เดินทางไปราชการต่างประเทศเท่านั้น มีสีแดงสด
หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับข้าราชการ สำหรับเดินทางไปราชการนั้น ๆ เป็นเล่มสีน้ำเงิน
หนังสือเดินทางยกเว้นค่าธรรมเนียม (Gratis) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับข้าราชการเกษียณอายุ, พนักงานของรัฐและข้าราชการที่จะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทุนส่วนตัวหรือไปฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ จะป็นเล่มสีน้ำตาล
หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป หรือข้าราชการ และพนักงานของรัฐก็สามารถใช้ในกรณีที่เดินทางไปต่างประเทศด้วยกิจธุระส่วนตัวตัวเล่มจะใช้สีเลือดหมู
เอกสารที่ต้องใช้ในการทำ Passport
สำหรับการขอทำหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป ที่อายุเกิน 20 ปีขึ้นไปแล้ว จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอทำหนังสือเดินทาง ดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน
- หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ
กรณีผู้ยื่นคำร้องฯ เป็นพระภิกษุ
• สำเนามติมหาเถระสมาคมอนุมัติการออกหนังสือเดินทาง ซึ่งระบุชื่อ ฉายา และนามสกุล
• หนังสือเดินทางปัจจุบัน ( สำเนา 1 ชุด)
• ใบสุทธิพระภิกษุ ( สำเนา 1 ชุด )
• ทะเบียนบ้าน/วัด ( สำเนา 1 ชุด )
ขั้นตอนการขอหนังสือเดินทาง
ขั้นตอนแรก รับบัตรคิว
ขั้นตอน 2.ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน
ขั้นตอน 3.เข้าสู่ขั้นตอนการเก็บข้อมูลส่วนตัว จะมีการวัดส่วนสูงเก็บลายพิมพ์นิ้วมือถ่ายรูปใบหน้า
ขั้นตอน 4.แจ้งความประสงค์ว่าจะมารับหนังสือเดินทางด้วยตัวเอง หรือต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
ขั้นตอนสุดท้าย ชำระค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง 1,000 บาทหากต้องการให้จัดส่งทางไปรษณีย์ จะต้องชำระค่าส่งไปรษณีย์ เพิ่มเติมอีก 35บาท จากนั้นรับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม
ปัจจุบัน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 เป็นต้นมา ทางกรมกงสุล กระทรวงต่างประเทศได้เปลี่ยน
หนังสือเดินทางธรรมดาเป็น "หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์" หรือ "E-passport"แล้ว ซึ่งเป็น
หนังสือเดินทางที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิคตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่าง
ประเทศ (ICAO)ซึ่งแตกต่างจากหนังสือเดินทางแบบเดิม คือ มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric
data) ได้แก่ รูปใบหน้า และ/หรือลายนิ้วมือ และ/หรือ ม่านตา ไว้ใน Contactless Integrated
Circuitซึ่งฝังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง
ข้อดี
ของการเปลี่ยนมาเป็น E-passport คือ มีการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของหน้งสือเดินทาง
- สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้สูง
- สามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำและรวดเร็ว อำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง การเข้าเมือง และส่งเสริมการท่องเที่ยว
- เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ทำให้หนังสือเดินทางไทยมีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับในระดับสากลยิ่งขึ้นส่งผลต่อเนื่องทางบวกด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศ
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น